การสร้างเอกภาพอันศักดิ์สิทธิ์ของประชาชน วัฒนธรรม และธรรมชาติของผู้คนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

Emanuel Pastreich
1 min readSep 22, 2022

การสร้างเอกภาพอันศักดิ์สิทธิ์ของประชาชน วัฒนธรรม และธรรมชาติของผู้คนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ประเทศไทยเป็นดินแดนที่มีศักยภาพทางวัฒนธรรมเป็นอย่างมากที่จะสามารถชี้แนะแนวทางใหม่ ๆ ให้กับอเมริกา เพื่อให้เราสามารถก้าวต่อไปข้างหน้าท่ามกลางความผันผวนปัจจุบันที่สร้างความเสียหายให้แก่การเมืองของประเทศและวัฒนธรรมของพวกเรา แต่ชาวอเมริกันจะสามารถรับรู้ถึงความแข็งแกร่งของวัฒนธรรมไทยได้ก็ต่อเมื่อเราสามารถสลัดความเข้าใจอันตื้นเขินและชวนให้เข้าใจผิดเกี่ยวกับประเทศไทยที่เรานำมาใช้ดำเนินนโยบายอยู่ในปัจจุบันนี้ ประเทศไทยเป็นหนึ่งในวัฒนธรรมเก่าแก่ที่ยังคงอยู่ในโลกใบนี้ เป็นประเทศที่มีภูมิปัญหาเก่าแก่ลึกซึ้งส่งผ่านมาให้คนในอนาคต มีความเข้าในลึกซึ้งถึงจิตวิญญาณวิถีพุทธอย่างแท้จริง ทำให้เห็นว่าประเทศไทยเหมาะสมที่สุดที่จะชี้แนวทางให้กับสหรัฐอเมริกาและโลกใบนี้ได้

ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น? เพราะว่าวิกฤติที่สหรัฐอเมริกากำลังเผชิญอยู่ขณะนี้ ไม่ใช่วิกฤตทางเศรษฐกิจหรือกำลังทางทหาร แต่เป็นวิกฤตทางจิตวิญญาณและอัตลักษณ์ เราไม่อาจรู้ได้อีกต่อไปแล้วว่าเราคือใครและกำลังทำอะไรอยู่ ดังนั้นเราจึงดำเนินชีวิตกันเรื่อยไปเหมือนหุ่นยนต์ไปสู่โลกอนาคตแห่งการทำลายล้าง

ยิ่งไปกว่านั้น ภูมิปัญญาอันลึกซึ้งของไทยยังแผ่กระจายไปทั่วทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อร่างเป็นความตัวประสานเชื่อมอันลึกซึ้งระหว่างผู้คนและวัฒนธรรม ที่โน้มนำดึงทุกชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาอยู่ร่วมกันเป็นหนึ่งเดียว ไม่ใช่ความสัมพันธ์ในแบบระหว่างบรรษัทหรือสถาบันการเงิน

ผมมีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะสนับสนุนให้มีการผสานรวมเข้ากันโดยสมบูรณ์กับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง แต่จะต้องเป็นความสัมพันธ์ที่มีฐานมาจากประชาชนและวัฒนธรรม ไม่ใช่เพื่อผลประโยชน์สำหรับคนไม่กี่กลุ่ม ยิ่งไปกว่านั้น สหรัฐอเมริกาจะต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการนั้นในฐานะผู้ศึกษา เป็นประเทศน้องใหม่ที่เรียนรู้จากอารยธรรมโบราณ ไม่ใช่ในฐานะครู เจ้านาย หรือเจ้าของประเทศ การปฏิวัติเปลี่ยนแปลงทางทัศนคตินั้นสำคัญอย่างยิ่งสำหรับความสัมพันธ์ในอนาคตระหว่างประเทศไทยและสหรัฐอเมริกา

เราจะสามารถทำให้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นดินแดนที่มีเสถียรภาพ สงบสุข และมีอำนาจได้ก็ต่อเมื่อเราปล่อยให้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้กำหนดอนาคตของตนเอง จากวัฒนธรรมโบราณที่พวกเขามี และถ้าสหรัฐอเมริกายินดีและพร้อมที่จะเรียนรู้จากพวกเขา จะก่อให้เกิดแบบแผนใหม่ของการดำเนินกิจการประเทศสหรัฐอเมริกาขึ้นมาได้ ถ้าเราเรียนรู้จากอดีตของประเทศไทย

น่าเศร้าว่าชาวอเมริกันหลายคนมีความรู้ความเข้าใจประเทศไทยแต่เพียงผิวเผินและในแบบเดิม ๆ ซึ่งเป็นผลมาจากวัฒนธรรมการบริโภคที่รังแต่จะนำพาไปสู่หายนะ

คนอเมริกันมองประเทศไทยว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวสนุกสนาน เป็นที่ที่นักท่องเที่ยวไปแสวงหาความรื่นรมย์ ไปหาอาหารดี ๆ ทาน ไปเที่ยวเล่นโดยไม่ต้องคิดอะไรมาก ไม่ต้องนึกถึงอะไรใด ๆ ทั้งอดีตและอนาคต น่าเศร้าว่าคนอเมริกันส่วนใหญ่ไปเมืองไทยกันแบบไม่คิดที่จะเรียนรู้อะไรเกี่ยวหลักคิดหรือขนบธรรมาภิบาลโบราณของไทยเลย

หรือคนอเมริกันเห็นประเทศไทยเป็นที่ที่พวกเขาสามารถผลิตสินค้าราคาถูก โดยไม่คำนึงถึงเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ของคนทำงาน ไม่ตระหนักถึงความเสียหายต่อนิเวศวิทยาของประเทศไทย ไม่คำนึงถึงความหลากหลายทางชีวภาพและชีวิตความเป็นอยู่ที่ยั่งยืนในอดีต

มุมมองอันแบนรอบและลดทอดความเป็นไทย ซึ่งเป็นประเทศที่เราควรจะมองว่าเป็นผู้ให้ความรู้นั้น ว่าเป็นเพียงโรงงานผลิตราคาถูกกว่าฟิลิปปินส์หรือจีน ช่างเป็นการหยามเกียรติอย่างไม่น่าให้อภัย และผมก็ยืนยันว่าสหรัฐอเมริกานั้นจะต้องหยุดพฤติกรรมเช่นนั้น และเริ่มเรียนรู้จากประเทศไทยได้แล้ว ไม่ใช่สั่งสอนคนไทยเกี่ยวกับเศรษฐกิจและสังคม

คนอเมริกันส่วนมากมัวแต่ยุ่งอยู่กับการแนวคิดแบบอเมริกันอันล้มเหลว จนไม่มีเวลาที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจเพียงของกษัตรย์ภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งมีฐานคิดมาจากความพอประมาณ การมีเหตุมีผล และความมัธยัสถ์ ไม่ใช่การเติบโตและการบริโภคอย่างไร้ที่สิ้นสุด สหรัฐอเมริกาควรปรับใช้แนวทางด้านเศรษฐกิจเช่นนี้ และโยนทิ้งสิ่งไร้ค่าและรูปแบบการบริโภคที่สร้างความสับสนเช่นนั้นออกไปเสีย

นอกจากนั้นก็มีคนอเมริกันบางคนที่มองประเทศไทยว่าเป็นเพียงส่วนหนึ่งอันเลือนลางบนเกมหมากรุกภูมิศาสตร์การเมืองที่เอื้อโอกาสให้ชาวอเมริกันร่ำรวยขึ้นจากระบบการค้าอาวุธสงครามราคาสูงเกินจริง

ชาวอเมริกันนิสัยชอบเหยียดหยามเหล่านี้ไม่ได้มีความสนใจใคร่รู้ในภูมิปัญญาของไทยหรอก พวกเขาต้องการบังคับให้ประเทศไทยยืนหยัดต่อต้านจีนหรือรัสเซีย หรือทั้งสองประเทศ เพื่อปูทางบังคับให้ประเทศไทยซื้ออาวุธสงครามราคาแพง ซึ่งไม่ได้มีประโยชน์ต่อใครใด ๆ เลย

การมองประเทศไทยแบบง่าย ๆ ว่าเป็นเพียงหนึ่งในประเทศพันธมิตร เป็นลูกค้าซื้ออาวุธสงครามนั้น จงใจเพิกเฉยต่อคุณประโยชน์ของประเทศไทยต่ออารยธรรมโลก ในฐานะที่เป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องความสงบสุขและความเสถียรภาพ ซึ่งได้นำมาซึ่งความเป็นเอกภาพของวัฒนธรรมที่สอดคล้องไปในแนวทางเดียวกันทั่วทุกแห่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และนั่นจะเป็นแบบอย่างของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่มีฐานคิดมาจากเรื่องความสงบสุขให้แก่โลกทั้งใบนี้ ไม่ใช่สงคราม

ขนบธรรมเนียมดั้งเดิมของการบริหารประเทศแบบธรรมาภิบาลและความสัมพันธ์อันสงบสุขกับประเทศเพื่อนบ้านที่ผมค้นพบจากประเทศไทย เป็นแรงบันดาลใจให้ผมคิดทบทวนถึงสิ่งที่สหรัฐอเมริกาสามารถเป็นได้เช่นกัน ถ้าประเทศไทยมีบทบาทเช่นนั้นในเวทีโลก ก็สามารถช่วยบรรลุผลได้เร็วมากขึ้นกว่าระบบความสัมพันธ์แบบต่อรองซื้อขายอาวุธสงคราม

สหรัฐอเมริกาเป็นคำที่หลอมรวมมาจากความหวังทั้งมวลในความแตกต่างทั้งหลายที่มีในประเทศของเรา ความหวังที่ว่านั้นนั้นย้อนยาวนานตั้งแต่อดีต เป็นถ้อยคำพูดที่บันดาลให้เกิดคำประกาศอิสรภาพแห่งสหรัฐอเมริกา ที่กล่าวถึงรูปแบบการปกครองที่ไม่เคยคาดคิดว่าจะเกิดขึ้นมาได้

ทว่าวิธีคิดแบบความฝันอเมริกันชนนั้นบกพร่องอย่างมากตั้งแต่แรกเริ่ม การปลดปล่อยทาสชาวแอฟริกันและการโจมตีกลุ่มชนพื้นเมืองของดินแดนอเมริกา (ชาวอินเดียน) ทำลายความน่าเชื่อถือของคำพูดที่บอกว่า “มนุษย์ทุกคนถูกสร้างขึ้นมาให้เท่าเทียม” ทว่าอำนาจของคำพูดนั้นกลับสร้างข้อจำกัดให้แก่มนุษย์ผู้เขียนคำพูดนี้ขึ้นมา อย่างไรก็ตามภาพฝันนั้นก็ยังมีผู้นำไปเป็นแบบอย่างปฏิบัติตามอยู่ทั่วโลกแม้กระทั่งเมื่อครั้งที่สหรัฐอเมริกาล้มเหลวที่จะไปถึงภาพในอุดมคตินั้นด้วยตนเอง

ความขัดแย้งภายในอเมริกานั้นช่างน่าอับอาย และยังคงดึงรั้งให้พวกเราถอยหลังจากที่ครั้งหนึ่งเคยตระหนักรู้ได้ถึงศักยภาพของตนเองที่จะยิ่งใหญ่

ผู้คนถูกแบ่งฝักแบ่งฝ่ายโดยสัญลักษณ์ที่โน้มนำเพื่อให้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยไม่ทันยั้งคิด รัฐชาติทั่วโลกต่างถูกแบ่งแยกจากข้อมูลความเข้าใจผิด ๆ และภาพการเหมารวมที่สร้างขึ้นมาโดยสหรัฐอเมริกา

แผ่นดินถูกแบ่งแยกโดยวิธีคิดแบบการจัดการอสังหาริมทรัพย์ และเขตแดนประเทศที่ถูกตัดสายสัมพันธ์ของแม่น้ำและภูเขา สัตว์ป่าและแมกไม้ ซึ่งควรจะเป็นสิ่งที่ยึดดึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เข้าด้วยกัน ไม่ใช่ถูกฉีกออกเป็นส่วน ๆ

ความมั่นคง เป็นมโนทัศน์สำคัญสำหรับครัวเรือนและหมู่บ้าน ถูกบิดรูปร่างเพื่อใช้อธิบายแก้ต่างให้กับความไม่จำเป็นในการทำลายธรรมชาติและสังคมเพื่อแสวงหาผลประโยชน์

ประเทศ “สหรัฐอเมริกา” จบสิ้นแล้ววันนี้หลังกำแพงกองทัพ เขตปลอดทหารในภาคใต้ที่กำหนดชัดเจน ทุกตารางนิ้วว่าเขตรัฐชาตินั้นจบสิ้นตรงไหนและพื้นที่ชาติอื่น ๆ เริ่มตรงไหน ทว่าการแบ่งที่ชัดเจนเช่นนี้ ไม่ได้มีฐานคิดมาจากประสบการณ์ชีวิตของมนุษย์ในโลกแห่งธรรมชาติ และแน่นอนว่าไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ที่ให้แสงสว่างแก่มนุษย์ทุกคนตั้งแต่รุ่งสาง

เรามาพิจารณาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จากสรวงสวรรค์ เมื่อดวงอาทิตย์และดวงจันทร์มองลงมาจากข้างบน พวกเขาต่างเห็นป่าไม้และภูเขา แม่น้ำและทะเลสาบ เกาะแก่งและคาบสมุทรที่เชื่อมต่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้เป็นปึกแผ่น

กลุ่มก้อนทางวัฒนธรรมที่ยังไม่แตกสลายและห่วงแห่งความสัมพันธ์ทางธรรมชาติของพืชพันธุ์และสัตว์ป่าเชื่อมประสานรวมเข้าด้วยกันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากมหาวิหารสูงอย่างนครวัดในประเทศกัมพูชาถึงยอดวิหารหน้าจั่วอันงดงามของวัดพระธาตุลำปางหลวงในประเทศไทย จากมหาวิหารอาคารยาวคลาสสิคของมหาวิหารเดล ซานโต นิลโย่ ในประเทศฟิลิปปินส์ถึงพลังทางจิตวิญญานอันจรรโลงจิตใจที่แผ่ซ่านไปทั่วมหาสมุทรของวัดทานาล็อตที่บาหลี

เราไม่อาจปล่อยให้พวกธนาคารและบรรษัทข้ามชาติ ปล่อยให้เล่ห์กลวิกฤตโควิด 19 หรือคำลวงของรัฐบาลที่อยู่ภายใต้การบงการของพวกมีอำนาจ แยกขาดผู้คนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บังคับใช้อำนาจเขตแดนที่ไม่มีอยู่จริง หรือพยายามคุมขังผู้คนราวกับสัตว์เลี้ยงปศุสัตว์

จำไว้ว่าแม้แต่การพบปะระหว่างคนธรรมดาในชาติต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นก็ยังถูกจำกัดปิดกั้น ทั้งการไหลเวียนของเงินและค่าเงิน การไหลเวียนของสินค้าการเกษตร สินค้าสำเร็จรูปและชิ้นส่วนอุตสาหกรรม การไหลเวียนของข้อมูล ทุกสิ่งไม่ถูกปิดกั้น ทว่าอยู่ในการควบคุมของพวกคนมีอำนาจ

กำแพงนั้นไม่ใช่มีแค่ตรงเขตแดน คนรวยกำลังสร้างกำแพงล้อมรอบคฤหาสน์และชุมชนของพวกตัวเอง นั่นคือความจริงที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา ซึ่งประเทศไทยก็ไม่ต่างกัน

เราไม่ต้องการสหรัฐแห่งการเงิน อุตสหกรรม และการค้า เราต้องการ “สหรัฐ” ของครูบาอาจารย์ หมอ นักสังคมสงเคราะห์ นักเรียน ของชาวสวน เราต้องการ “สหรัฐ” แห่งที่ให้ความสำคัญกับครอบครัว เมื่อเรามีสหรัฐในแบบนั้นแล้ว เราจะค้นพบว่าเราคล้ายกันมากแค่ไหน

การสร้างสหรัฐอย่างที่ว่าขึ้นมาใหม่นั้นนั้นจะเชื่อมโยงกับการสร้างเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ขึ้นมาใหม่เช่นกัน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถเป็นได้มากกว่าหน่วยงานประชาคมอาเซียน เป็นได้มากกว่ากลุ่มพวกนักการเมืองที่ทำงานให้กับพวกคนรวยที่ออกไปพบปะช่างภาพในโรงแรมหรู ประชาคมอาเซียนสามารถมีบทบาทหลักในการรวมเป็นเอกภาพของวัฒนธรรมอันหยั่งลึกของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เมื่อผมจินตนาการถึงความสัมพันธ์ของสหรัฐอเมริกากับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผมจะย้อนนึกไปถึงงานของเฮนรี วอลเลซ นักการเมืองผู้ยิ่งใหญ่ ผู้ที่นำเอานโยบาย “เพื่อนบ้านที่ดี” ของประธานาธิบดีแฟรงคลิน ดี รูสเวลท์ ที่ดำเนินต่อประเทศลาตินอเมริกันมาใช้ในช่วงปี 1940 รองประธานาธิบดีวอลเลซต่อสู้เพื่อความสัมพันธ์อันเท่าเทียมกับทุกชาติในทวีปอเมริกา สร้างบทสนทนาที่ลงตัวเกี่ยวกับการศึกษา เกษตรกรรม วิทยาศาสตร์ และสังคม ที่สร้างให้เกิดมติมหาชนถึงสิ่งที่เป็นไปได้

สำหรับวอลเลซยังมีมากกว่านั้น เขามีความมุ่งมั่นแรงกล้าถึงค่านิยมจิตวิญญาณของวัฒนธรรมพื้นมืองดั้งเดิม และเขาเชื่ออย่างสุดใจลึกลงในคำสอนที่เราพบของบรรพบุรุษผู้อาศัยอยู่ในป่า วอลเลซคว้าความเป็นไปได้เพื่อการเติบโต ไม่เพียงในแง่ของเงินและผลิตภัณฑ์ทว่าในความเป็นอารยธรรมในตัวมันเอง

นั่นควรจะเป็นแบบอย่างในการทำงานในพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของพวกเราเช่นกัน

นโยบายในการดำเนินการกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของผมนั้น จะคำนึงถึงโอกาสความเป็นไปได้เช่นนั้นเหมือนกัน รวมถึงเพื่อสร้างความประสานกลมกลืนกันของผู้คนที่มีความเคารพต่อกันและกัน รวมถึงความหลอมรวมเป็นหนึ่งกับธรรมชาติที่ยังยืน

เราจะยืนยันย้ำว่าสิ่งเล็กนั้นงดงาม และความรู้อันยิ่งใหญ่นั้นอยู่ที่ความคิดอันเฉียบแหลมของคนสมัยโบราณในวัฒนธรรมต่าง ๆ ของพวกเขาเหล่านั้นที่ทิ้งร่องรอยความเสียหายเพียงเล็กน้อยแก่ธรรมชาติสิ่งแวดล้อม

--

--